วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ความหลากหลาย



ความหลากหลาย

ไข่นกเป็นอาหารธรรมดาทั่วไปและเป็นหนึ่งในส่วนประกอบมากประโยชน์ที่สุดที่ใช้ในการปรุงอาหาร ไข่สำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสมัยใหม่หลายสาขา ไข่นกที่ใช้กันมากที่สุดมาจากไก่ เป็ดและห่าน และไข่ที่เล็กกว่า เช่น ไข่นกกระทา ใช้บ้างเป็นบางครั้ง เช่นเดียวกับไข่นกที่ใหญ่ที่สุด ไข่นกกระจอกเทศ ไข่นกนางนวลถือว่าเป็นอาหารราคาแพงในอังกฤษ เช่นเดียวกับบางประเทศสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนอร์เวย์ ในบางประเทศแอฟริกา ไข่ไก่ต๊อก (guineafowl) พบเห็นทั่วไปในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูใบไม้ผลิ ไข่ไก่ฟ้า (pheasant) และอีมูรับประทานได้อย่างดี แต่หาได้ไม่กว้างขวางนักบางครั้งไข่ได้มาจากชาวนา พ่อค้าสัตว์ปีกหรือห้างสรรพสินค้าหรูหรา ไข่นกป่าส่วนใหญ่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในหลายประเทศ ซึ่งห้ามการเก็บหรือขาย หรืออนุญาตให้กระทำได้เฉพาะบางช่วงเวลาของปี

เคล็ดลับเก็บไข่ไก่ให้นาน 10-12 เดือน

ไข่ไก่สามารถเก็บได้นาน 10-12 เดือน โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น เพียงเคลือบด้วยน้ำมันปรุงอาหารบางๆ เพื่อไม่ให้อ๊อกซิเจนซึมเข้าไปในไข่ เหมือนกับแม่ไก่พึ่งออกไข่ก็จะมีไขมันเคลือบมาด้วย ทำให้ไข่อยู่ได้นาน

วิธีเคลือบไข่ไก่ ใส่ถุงมือพลาสติก หยดน้ำมันพืชลงบนถุงมือพลาสดิกเล็กน้อย ถูมือให้มีน้ำมันหมาดๆ ทั่วมือ อย่าให้น้ำมันชุ่ม หยิบไข่ขึ้นมาคลึงบนมือ เป็นอันเรียบร้อย เก็บไว้ในถาดไข่เหมือนเดิม เพียงเท่านี้ไข่ไก่ที่คุณมีอยู่ก็จะอยู่ได้ 10-12 เดือนแล้ว

รับประทานไข่ไก่ ดีจริงหรือเปล่า



"ไข่ไก่" ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ไก่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหาร อย่างไรก็ดี แม้ไข่ไก่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพได้โดยเฉพาะคนที่มีอาการแพ้ไข่ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วไข่เป็นอาหารที่พบการแพ้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในทารก และทารกมักหายจากอาการแพ้ไข่ได้เมื่อโตขึ้น ส่วนใหญ่พบเป็นการแพ้ไข่ขาวมากกว่าไข่แดง

แต่ถ้าตัดในเรื่องการแพ้ไข่แล้วก็จะยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่มากว่าไข่ไก่ควรรับประทานจำนวนเท่าไหร่ถึงจะพอดี รับประทานมากเกินไปแล้วผลจะเป็นอย่างไร และสำคัญที่สุดมีอันตรายหรือไม่อย่างไร?

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายคนอยากจะรู้ เพราะยุคหนึ่งคนกลัวการรับประทานเพราะกลัวคอเลสเตอรอล แต่ในยุคหนึ่งต่อมาก็กลับมีโฆษณาบอกว่าการรับประทานไข่ไก่ทำให้สุขภาพดี ทำให้ผู้บริโภคหลายคนไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะดีกันแน่?

เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงองค์ประกองทางโภชนการของไข่ไก่เสียก่อนว่า ไข่ไก่นั้นให้กรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิด ตลอดจนวิตามินและเกลือแร่อีกหลายชนิด รวมทั้งเรตินอล (วิตามินเอ), ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี2), กรดโฟลิก (วิตามินบี9), วิตามินบี 6, วิตามินบี12, โคลิน, เหล็ก, แคลเซียม, ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม

ส่วนวิตามินเอ ดีและอีทั้งหมดในไข่อยู่ในไข่แดง ไข่เป็นหนึ่งในอาหารไม่กี่ชนิดในธรรมชาติที่มีวิตามินดี ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไข่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่มากเลยทีเดียว

ทั้งนี้ไข่แดงขนาดใหญ่ให้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี (250 กิโลจูล) ไข่ขาวให้พลังงานประมาณ 15 แคลอรี (60 กิโลจูล)

ไข่แดงมีน้ำหนักคิดเป็น 33% ของน้ำหนักของเหลวของไข่ ไขมันทั้งหมดอยู่ในไข่แดงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโปรตีนเล็กน้อย และสารอาหารอื่นส่วนใหญ่ โดยไข่แดงหนึ่งใบมีปริมาณโคลีนเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ทั้งนี้โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและมีความสำคัญต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรเพื่อประกันพัฒนาการสมองในทารก

สำหรับเรื่องหนึ่งที่คนกลัวมากที่สุดในการรับประทานไข่ไก่ก็คือ "คอเลสเตอรอล" เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลทำให้เกิดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ แต่ในงานวิจัยเชิงสถิติที่ออกมาจำนวนมากกลับพบว่าความเสี่ยงของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจนั้นคือ "คนที่มีคอเลสเตอรอลลดลงเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป"

ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2530 วารสารแห่งสมาคมแพทย์อเมริกัน ได้ตีพิมพ์บทความ เรื่อง คอเลสเตอรอลและอัตราการเสียชีวิต โดยติดตามผล 30 ปีติดต่อกันจากการศึกษาของฟรามิงแฮม “Cholesterol and mortality 30 years of follow-up from the Frmingham Study” จัดทำโดย แอนเดอร์สัน (Keaven M. Anderson) และคณะ เอาไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุของคนกับการมีคอเลสเตอรอลซึ่งสรุปเอาไว้ว่า:

“หากอายุน้อยกว่า 50 ปี ระดับปริมาณของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมีผลโดยไปในทางเดียวกันกับอัตราการเสียชีวิตโดยรวมและโรคหลอดเลือดโดยรวมในช่วงเวลา 30 ปี โดยทุกๆ 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรของคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น จะมีอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วยประมาณ 5% ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มอัตราความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 9 %

ในขณะที่ประชากรเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีไปแล้ว กลับพบว่าไม่มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั้งคนที่คอเลสเตอรอลต่ำหรือสูง อย่างไรก็ตามพบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการลดลงของคอเลสเตอรอลในช่วง 14 ปีแรกของกลุ่มสำรวจ และติดตามผลอัตราการเสียชีวิตในรอบ 18 ปีในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไปพบว่า

"เมื่อระดับคอเลสเตอรอลลดลง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กลับทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 11% และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น 14% หรืออีกนัยหนึ่งหากคอเลสเตอรอลลดลงไป 1 มิลลิโมลต่อลิตร (ลดไป 38 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นถึง 429 %”

ดังนั้นหากใครที่คิดว่าตัวเองมีอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วมีคอเลสเตอรอลตกลงและต้องการเพิ่มแหล่งอาหารคอเลสเตอรอลเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ให้ได้ฮอร์โมน เยื่อหุ้มเซลล์ วิตามินดี และฉนวนหุ้มปลายประสาท ให้มากขึ้น นอกจากการจะออกกำลังกายและเพิ่มอัตราการเผาผลาญให้ตับด้วยการดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้ว ไข่แดงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสงสัยว่าอาจจะตอบโจทย์นี้ได้

เพราะไข่แดงเป็นแหล่งอาหารของคอเลสเตอรอล แต่ไข่ขาวแทบไม่มีคอเลสเตอรอล ทั้งนี้แคลอรีเกินครึ่งหนึ่งของไข่มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง โดยไข่ไก่ขนาดใหญ่ (50 กรัม) มีไขมันอยู่ประมาณ 5 กรัม โดยมีไขมันในไข่เพียง 27% เท่านั้นที่เป็นไขมันอิ่มตัว ได้แก่ กรดปาล์มิติก สเตียริกและไมริสติก ไข่ขาวส่วนใหญ่เป็นน้ำ (87%) และโปรตีน (13%) ไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันน้อยมากถึงไม่มีเลย อย่างไรก็ตามกรดไขมันในไข่ไก่จะออกมาเป็นอย่างไรและเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เลี้ยงไก่นั้นด้วย

แม้ว่าไข่ไก่จะมีคอเลสเตอรอล แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่าลำไส้เราจะสามารถดูดซึมคอเลสเลสเตอรอลจากไข่ไก่ได้ นักวิจัยโดย ศาสตราจารย์คูและคณะ (ประกอบด้วย Sung I. Koo, Yonghzhi Jiang and Sang K. Noh)จากมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัส มลรัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำงานวิจัยกับหนูทดลองพบว่า :

"ไขมันในรูปฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) ที่มีอยู่ในไข่ไก่นั้นจะเข้าไปแทรกแทรงและขัดขวางกระบวนการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ให้น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อลำไส้ดูดซึมคอเลสเตอรอลได้ลดน้อยลง เป็นผลทำให้การเพิ่มคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดนั้นไม่ได้มากอย่างที่หลายคนจะคาดคิด"

จากเหตุผลนี้ศาสตราจารย์คูหัวหน้าคณะวิจัยชุดนี้จึงให้ความเห็นเอาไว้ว่า:

"สำหรับคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติและครอบครัวไม่มีประวัติโรคเกี่ยวกับการหมุนเวียนของหลอดเลือดก็ไม่ควรวิตกกังวลเกี่ยวกับการรับประทานไข่ไก่ 1-2 ฟองต่อวัน โดยภาพรวมน่าจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ"

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อข้อมูลเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบี วิตาบินบี-6 วิตามินบี 12 และโฟเลท ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าจะทำให้ลดปริมาณระดับ โฮโมซินสเทอีน (Homocysteine) ในกระแสเลือดซึ่งเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาตด้วย

เมื่ออ่านข้อมูลตอนแรกเช่นนี้แล้ว ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจไปเร่งรับประทานไข่ไก่มากๆแบบไม่บันยะบันยังเพราะการรับประทานอย่างนั้นก็เกิดโทษได้เช่นกัน หรือไปเร่งรับประทานไม่ถูกวิธีด้วยการไปผัดหรือทอดกับน้ำมันที่ไม่อิ่มตัวมากๆ (น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันรำข้าว, น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ) ก็จะทำให้การรับประทานไข่ไก่เกิดโทษได้ด้วย และปัจจัยนี้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้งานวิจัยและการสำรวจทางสถิติแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อๆ ไป

สำหรับคนใจบุญที่รับประทานอาหารมังสวิรัติแบบ Vegan คือไม่รับประทานแม้แต่ไข่ไก่หรือผลิตภัณฑ์จากนมของสัตว์ ก็อย่าเพิ่งด่วนลังเลใจว่าตัวเองเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไปแล้วจะรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้ตกลงช้าลงได้อย่างไรโดยไม่รับประทานไข่ไก่ เพราะสิ่งเหล่านี้ก็จะกล่าวถึงในตอนต่อๆ ไปเช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการ





ไข่ไก่ให้กรดอะมิโนจำเป็นทุกชนิดตลอดจนวิตามินและเกลือแร่อีกหลายชนิด รวมทั้งเรตินอล(วิตามินเอ), ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี2), กรดโฟลิก (วิตามินบี9), วิตามินบี6, วิตามินบี12, โคลีน, เหล็ก, แคลเซียม, ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม

วิตามินเอ ดีและอีทั้งหมดในไข่อยู่ในไข่แดง ไข่เป็นหนึ่งในอาหารไม่กี่ชนิดในธรรมชาติที่มีวิตามินดี ไข่แดงขนาดใหญ่ให้พลังงานประมาณ 60 แคลอรี (250 กิโลจูล) ไข่ขาวให้พลังงานประมาณ 15 แคลอรี (60 กิโลจูล) ไข่แดงขนาดใหญ่มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้รับประทานต่อวันที่ 300 มิลลิกรัมมากกว่าสองในสาม แม้การศึกษาหนึ่งจะชี้ว่าร่างกายมนุษย์ไม่อาจดูดซับคอเลสเตอรอลจากไข่ได้มากนัก ไข่แดงมีน้ำหนักคิดเป็น 33% ของน้ำหนักของเหลวของไข่ ไขมันทั้งหมดอยู่ในไข่แดง น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโปรตีนเล็กน้อย และสารอาหารอื่นส่วนใหญ่ ไข่แดงยังมีโคลีนทั้งหมด และไข่แดงหนึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำต่อวัน โคลีนเป็นสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการของสมอง และกล่าวกันว่าสำคัญต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรเพื่อประกันพัฒนาการทางสมองของทารก

ปัญหาสุขภาพ
คอเลสเตอรอลและไขมัน

แคลอรีเกินครึ่งหนึ่งของไข่มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง ไข่ไก่ขนาดใหญ่ (50 กรัม) มีไขมันอยู่ประมาณ 5 กรัม ผู้ที่รับประทานอาหารคอเลสเตอรอลต่ำอาจต้องลดการบริโภคไข่ อย่างไรก็ดี มีไขมันในไข่เพียง 27% เท่านั้นที่เป็นไขมันอิ่มตัว ได้แก่ กรดปาล์มิติก สเตียริกและไมริสติก ซึ่งมีแอลดีแอลคอเลสเตอรอล ไข่ขาวส่วนใหญ่เป็นน้ำ (87%) และโปรตีน (13%) ไม่มีคอเลสเตอรอล และมีไขมันน้อยมากถึงไม่มีเลย

มีการถกเถียงว่าไข่แดงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือไม่ บางวิจัยเสนอว่า คอเลสเตอรอลจากไข่เพิ่มสัดส่วนรวมต่อเอชดีแอลคอเลสเตอรอล ดังนั้นจึงมีผลร้ายต่อภาวะคอเลสเตอรอลของร่างกาย ขณะที่การศึกษาอื่นแสดงว่าการบริโภคไข่ปานกลาง คือ หนึ่งฟองต่อวัน ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในผู้มีสุขภาพดี การศึกษาในผู้ใหญ่เกือบ 10,000 คนใน พ.ศ. 2550 แสดงให้เห็นว่าไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคไข่ปานกลาง (หกฟองต่อสัปดาห์) กับโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมอง ยกเว้นในประชากรผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ อีกการศึกษาหนึ่งสนับสนุนแนวคิดว่าการบริโภคไข่ปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การแพ้

ไข่เป็นอาหารที่พบการแพ้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในทารก หากไม่ได้สัมผัสไข่มากๆ ทารกมักหายจากอาการแพ้ไข่ได้เมื่อโตขึ้น ส่วนใหญ่พบเป็นการแพ้ไข่ขาวมากกว่าไข่แดง

นอกจากการแพ้แล้ว บางคนอาจมีอาการผิดปกติเมื่อกินไข่ขาว แต่ไม่ได้เป็นผลจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ก็ได้

5 เรื่องน่ารู้ของไข่ไก่



1. ทำไมไข่ทุกฟองไม่ฟักเป็นตัว
ไข่ไก่ที่เรากินทุกวันนี้เป็นไข่ที่ไม่ผ่านกระบวนการปฏิสนธิ คือไม่มีการผสมกันระหว่างเชื้อของตัวผู้และไข่ของตัวเมีย แต่ในระบบสืบพันธุ์ของไก่ตัวเมียจะมีรังไข่และท่อรังไข่ รังไข่นี้มีหน้าที่ผลิตไข่ ไข่ที่ผลิตแต่ละฟองจะถูกปล่อยออกมาตามท่อรังไข่อย่างสม่ำเสมอ และแม่ไก่ก็พร้อมจะวางไข่ กระบวนการนี้จะดำเนินไปตลอด ไม่ว่าไข่จะมีการปฏิสนธิหรือไม่ก็ตาม นั่นคือเหตุผลที่ไข่ไก่ทุกฟองไม่ฟักเป็นตัว


2. ไข่สุก-ไข่ดิบ อะไรมีประโยชน์กว่ากัน
เราไม่ควรกินไข่ดิบ เพราะในไข่ดิบอาจจะมีเชื้อโรค และไข่ขาวดิบยังย่อยยากอีกด้วย หากเรากินไข่ขาวดิบเข้าไป มันจะผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ไปโดยไม่ได้ย่อย ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ได้หากจะกินไข่ลวก ควรลวกให้ไข่ขาวสุกเสียก่อน

3. ช่องวางไข่ในตู้เย็น ทำอายุไข่สั้น
เปลือกไข่มีลักษณะเป็นรูพรุนตลอดทั้งฟอง รูที่เปลือกมีขนาดเล็กมากเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ผิวไข่ที่เราเห็นจึงดูเรียบเนียน และเพราะเปลือกมีรูพรุนทำให้ไข่สามารถดูดซึมกลิ่นต่าง ๆ ได้ง่าย จึงไม่นิยมเก็บไข่ไว้กับอาหารที่มีกลิ่นฉุน อย่างกะปิ น้ำปลา การเก็บไข่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นจะเหมาะกว่าเก็บที่อุณหภูมิปกติ และควรใส่ในภาชนะแล้ววางไว้บนชั้นวางธรรมดาดีกว่าใส่ในช่องวางไข่ที่ฝาผนังตู้เย็นซึ่งจะมีอุณหภูมิที่สูงทำให้ไข่เสียเร็วกว่าที่ควร

4. เก็บไข่ควรนำด้านแหลมลง
การวางไข่โดยเอาด้านแหลมลงและให้ด้านป้านอยู่บน ไข่แดงที่มีน้ำหนักเบากว่าไข่ขาว แม้จะพยายามลอยตัวขึ้นบนแต่ก็จะปะทะกับโพรงอากาศที่อยู่ทางด้านป้านไม่ปะทะกับเปลือกไข่ ไข่แดงจึงอยู่กลางใบหากเราเปลี่ยนเอาทางด้านป้านลงไข่แดงจะลอยขึ้นไปติดที่เปลือกไข่ทำให้ไข่แดงแตกง่ายเวลาตอก การเก็บไข่จึงควรนำด้านแหลมลงทุกครั้ง

5. ไข่ไม่ได้เป็นแค่อาหาร
- ไข่ขาว นำมาทำเป็นส่วนประกอบของยางบางชนิด ทำสีทาสิ่งของ ทำกาว ทำหมึกพิมพ์ ช่วยย้อมหนัง กำจัดสิวเสี้ยน
- ไข่แดง ทำสบู่ สี แชมพู ตกแต่งหนังสัตว์ บำรุงผิว
- เปลือกไข่ ทำอาหารสัตว์ ปุ๋ย และนำไปทำสิ่งประดิษฐ์ได้อีกหลายสิบอย่าง

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่7 จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เรื่องที่1 จริยธรรมในระบบสารสนเทศ


 ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด

3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น



เรื่องที่ 2 พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ


1. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเกิดจากความต้องการสารสนเทศ ซึ่งมีบริบริษัท
เฉพาะตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ ซึ่งแต่ละคนจะมีลั
กษณะแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น
สภาพแวดล้อม ความสนใจเฉพาะตัว และความตั้งใจ เป็นต้น
2. อุปสรรคที่ขัดขวางการแสวงหาสารสนเทศ เช่น อุปสรรคในการเข้าถึงสารสนเทศ
พื้นความรู้ของผู้แสวงหาสารสนเทศ ตาแหน่งและหน้าที่การงานของผู้แสวงหาสารสนเทศ
3. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ 8
ขั้นตอน โดยขั้นตอนเหล่านี้ไม่จาเป็นเกิดขึ้นนับแต่ขั้นแรกไปจนขั้นสุดท้ายตามล าดับก็ได้ คือ
3.1 การเริ่มต้น เป็นการเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศ ผู้แสวงหาสารสนเทศอาจเริ่มต้น
จากการสอบถามเพื่อนร่วมงานหรือผู้รู้ หรือการอ่านตาราพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ
3.2 การเชื่อมโยงร้อยเรียง เป็นการเชื่อมโยงสารสนเทศจากการอ้างอิงหรือ
บรรณานุกรม โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงย้อนหลังหรือการเชื่อมโยงไปข้างหน้า
3.3 การสารวจเลือกดูเป็นการค้นหาโดยมีเรื่องที่ต้องการหรือสนใจอยู่อย่างกว้างๆ
3.4 การแยกแยะ เป็นการแยกแยะสารสนเทศที่แสวงหาได้ โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น
ชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร เป็นต้น
3.5 การตรวจตรา เป็นการตรวจตราวรรณกรรมหรือสารสนเทศใหม่ในสาขาวิชา
หรือแวดวงวิชาการที่ตนสนใจและคุ้นเคย
3.6 การดึงสารสนเทศออกมา เป็นการดึงสารสนเทศที่ต้องการจากรายงานวิจัย
บทความวารสาร หนังสือ เป็นสารสนเทศแบบเฉพาะเจาะจงที่สามารถนาไปใช้ได้ทันที
3.7 การตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้รับ
3.8 การจบ เป็นการแสวงหาสารสนเทศขั้นสุดท้ายเพื่อเก็บรวบรวมสารสนเทศที่
แสวงหาได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน และให้เกิดความแน่ใจว่าได้สารสนเทศในระดับที่ต้องการแล้ว





เรื่องที่ 3 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์


จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"
ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาต
การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
การละเมิดลิขสิทธิ์

โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)



เรื่องที่ 4 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์

เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน  สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA  ประกอบด้วย
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)       
3.  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)                 
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
                        ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉบับ คือ
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ


เรื่องที่ 5 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์


 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer crime or cyber crime)  หมายถึง การกระทำความผิดหรือพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์
             การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีพฤติกรรมอย่างนี้ได้ จะเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับชำนาญการ เป็นผู้ที่มีการศึกษามาทางด้านนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้เวลาที่เกิดปัญหาอาชญากรรมด้านนี้จึงทำให้การสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่หาข้อมูลในการนำหลักฐานมาลงโทษผู้กระทำความผิดได้อย่างค่อนข้างลำบาก แต่อย่างไรก็ตามก็มีงานที่ติดตามการกระทำความผิดดังกล่าวและแยกรูปแบบของการกระทำความผิดเบื้องต้น ดังนี้
    
    -Data Diddling หมายถึง การแก้ไขข้อมูลในระบบสารสนเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแม้ได้รับอนุญาตก็ตาม โดยทำการแก้ไขข้อมูลบางอย่างในระบบเพื่อเอื้อประโยชน์ของตนและประโยชน์อื่นๆ ที่พิสูจน์ได้
  
     -Trojan Horsหมายถึง การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะแอบแฝงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นประจำ ให้เข้าใจว่ามีประโยชน์โดยจะปรากฎขึ้นว่าลักษณะที่ผู้ใช้เข้าใจว่ามีประโยชน์ แต่กลายเป็นโปรแกรมที่เข้าไปรบกวน หรือทำลายข้อมูลเดิมจนเกิดความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์
    
    -Trap  Doors หมายถึง การเขียนโปรแกรมที่คล้าย หรือใกล้เคียงกับหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เข้ามาใช้งานแล้วกรอกรหัสข้อมูลส่วนตัว อาจจะเป็น ID Numbar (รหัสประจำตัวผู้ใช้) และ Password (รหัสผ่านเข้าสู่ระบบ) โดยเมื่อทราบข้อมูลแล้ว จะทำการเก็บไว้ในไฟล์ลับเฉพาะต่อไป
      
  - Data  Leakage หมายถึง การกระทำให้ข้อมูลรั่วไหลจากระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งที่โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โดยคนร้ายจะทำการติดตั้งระบบในการกักเก็บข้อมูล อาจจะเป็นลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการผ่รังสีก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ
    
    - Wiretapping หมายถึง การติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการดักฟัง หรือรับสัญาณเพื่อให้สัญญาณนั้นผ่านเข้ามาในระบบสัญญาณที่ตั้งเอาไว้ ในลักษณะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ตลอดเวลา

     - การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลง แก้ไขระบบซอฟต์แวร์ โดยมิชอบของบุคคลอื่น เพื่อนำมาหาประโยชน์ส่วนตัว
     -  การใช้ หรือการแก้ไขระบบคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการแอบแก้ไขข้อมูล เพื่อโอนเงินในบัญชีบุคคลอื่นเข้าบัญชีที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเอง
           -     การดักหรือแทรกแซง เพื่อค้นหารหัสบัตรเครดิตของบุคคลอื่น เพื่อเข้ารหัสบัตรในการหาผลประโยชน์มาสู่ตนเอง และพวกพ้อง
            -    การหลอกลวงให้บุคคลอื่นร่วมลงทุน ร่วมหุ้นในการทำธุรกรรมทางอเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะฉ้อฉล
           -  การเข้าถึง หรือแทรกระบบทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ
           -  การก่อกวนหรือใช้โปรแกรมเข้าไปทำลาย หรือก่อกวนระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
           -  พฤติกรรมการโอนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการยอกย้อน ฟอกเงิน
          - การลักลอบในการบันทึก หรือเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร ในข้อมูลบุคคลอื่น ไปในทางเสื่อมเสีย และละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุุคคลอื่น

          การเจาะระบบ (Hacking)  หมายถึง การเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยอาศัยการปลอมแปลงรหัสเข้ามาสู่ระบบ แล้วจะทำการลบ แก้ไขข้อมูล ขโมยข้อมูล หรือทำให้ระบบข้อมูลเสียหาย

           การเจาะระบบข้อมูลเป็นการมาหาข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบข้อมูลทางบัญชี การเงิน หรือแม้แต่การเข้ามาโอนเงิน หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นเข้าบัญชีของตน หรือบางครั้งจะมีผู้เชียวชาญในระบบคอมพิวเตอร์ที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เข้ามาแก้ไขข้อมูล ดัดแปลงได้ เรียกว่า "ไวรัส" โดยไวรัสคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ครั้งแรกเพียงแต่เป็นแนวความคิดในนวนิยายเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีผู้คิดค้นโปรแกรมไวรัสขึ้นมาจริงๆ โดยนักศึกษาปริญญาเอทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนาย fred Cohen เมื่อปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526)
            โปรแกรมไวรัสนี้ จะเข้าไปทำลายและลบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และมีการใช้และถ่ายโอนข้อมูลไปสู่เครื่องอื่นๆ จะทำให้โปรแกรมไวรัสตัวนี้ ขยายเข้าไปสู่ระบบนั้นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนไวรัสที่กระจายเข้าสู่สัตว์ต่างๆ คนส่วนมาจึงเรียกว่า Computer  Virus จึงทำให้ชื่อ Virus กลายเป็นชื่อที่คนในวงการคอมพิวเตอร์คุ้นเคยดี และจะคอยระวังในการใช้งานอย่างเข้มงวดตลดมา หลังจากนั้นเป็นต้นมาจะมีผู้ที่ผลิต Virus นานาชนิดออกมามากมาย ทั้งๆที่ไม่เป็นที่ต้องการข้องผู้บริโภค ซึ่ง Virus จะมีชื่อแตกต่างกัน เช่น Pakistani Macintosh Scoves Kegpress เป็นต้น



คำศัพท์ทางการตลาด


1. Joint ventur การลงทุนร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไป


2. Layoff การเลิกจ้างงาน 

3. Leader ผู้นำ 

4. Leasing วิธีการได้ทรัพย์สินหรือสิ่งของมาใช้โดยไม่ต้องซื้อ 

5. Liquidity สภาพคล่อง 

6. Loyalty ความจงรักภักดีที่คนมีต่อกลุ่มและเป้าหมายของกลุ่ม

7. Management การบริหารจัดการ 

8. Market value ราคาปัจจุบันที่สินค้าหนึ่งสินค้าใดสามารถขายได้ในตลาด

9. Mass production การผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเดียวกันเป็นจำนวนมาก 

10. Merger การที่บริษัทมากกว่า 2 แห่ง รวมเป็นบริษัทเดียวกัน

บทที่6 กลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกส์

เรื่องที่ 1 การวางแผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่

        กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
      แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s

 ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

         กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy)
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
             1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) 
             2.  ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix )
             3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines )
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept ) 
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติ แตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า


     
เรื่องที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ 


กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
     กลยุทธ์เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร
ปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้คือ
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

 องค์ประกอบที่สำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์คือการสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร
ซึ่งจะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม

Different forms of organizational strategy
Business unit strategy คือกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจแต่ละอันออกมา
Regional strategy คือการแบ่งโครงสร้างการจัดการออกเป็นภูมิภาค กลยุทธ์ของแต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกัน
Functional strategy คือบางองค์กรมีการแบ่งฝ่ายออกเป็นหลายๆ ฝ่าย เช่นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี กลยุทธ์ของแต่ละฝ่ายก็จะแตกต่างกัน



เรื่องที่ 3 รูปแบบกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ 



การตลาดออนไลน์คืออะไร
การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คือการทำการตลาดโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการทำการตลาดที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่ระบบอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงขึ้น และเป็นที่แพร่หลายโดยทั่วไป พร้อมกันนี้ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลกโดยใช้ทุนน้อยที่สุดอีก ด้วย การตลาดออนไลน์นี้ ยังเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมกับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะลูกค้าสามารถแจ้งรายละเอียด รวมไปถึงสามารถแนะนำเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นตรงตามความต้องการ ของลูกค้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องของการจ้างพนักงานขาย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี หนังสือพิมพ์ หรือการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสามารถขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงตลอด 7 วันโดยไม่พักและไม่มีการเพิ่มต้นทุนแต่อย่างใด
เทคนิคการตลาด และกลยุทธ์การตลาดออนไลน์นั้น ยังไม่จบนะครับ ยังมีเรื่องราวต่ออีกหลายตอน ผมเองจะพยายามรวบรวมนำมาเขียนให้อ่านกันนะครับ ทั้งนี้หากสรุปแบบย่อๆ ก็น่าจะมีดังต่อไปนี้ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำตลาดออนไลน์เลยก็ว่า ได้นั่นก็คือ
  • การเลือกโดเมนที่เหมาะสม
  • การใช้ Keywords ที่ตรงใจกับลูกค้า และสินค้า
  • การวางแผนงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอน
  • การทำ Search Engine Optimization (SEO) ที่ดี


เรื่องที่ 4 กลยุทธ์การออกแบบสื่อ


  กลยุทธ์การออกแบบสื่อ Evolution Model คือการจัดทำสื่อในรูปแบบที่เสร็จเรียบร้อยทุกๆ ส่วนแล้ว จึงนำไปใช้ ในขณะที่ใช้หากพบข้อผิดพลาดหรือคามต้องการใหม่จะนำมาพัฒนาสื่อนั้นให้มีความสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น โดยเรียกว่าเป็น Version ซึ่งอาจใช้หมายเลขเพื่อแสดงถึงลำดับการพัฒนาสื่อ เช่น  MathR2-2-04.zip ซึซึ่งเป็นสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลายโดยจะออกมาก่อน MathR2-5.zip
การพัฒนาสื่อตามแนวคิดของ PDCA.
•เป็นการพัฒนาโดยอาศัยแนวคิดของการประกันคุณภาพ

กระบวนการผลิตสื่อตามแนวคิดวิศวกรรม
SDLC : System Development Life Cycle เป็นการออกแบบโดยใช้กรรมวิธีทางวิศวกรรมซอฟท์แวร์ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ คือ  การทบทวนความต้องการ การกำหนดคุณสมบัติ/การวางแผน การออกแบบ/พัฒนาระบบ การนำไปใช้ การสนับสนุน และการประเมิน



เรื่องที่ 5 รูปแบบกลยุทธ์การโฆษณาเว็บไซต์



กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ
 
1. การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Targeting and positioning) ต้องสอดคล้องกัน เช่นhttp://www.nike.com/ สร้างขึ้นมาเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักกีฬา ตำแหน่งผลิตภัณฑ์จึงเป็นศูนย์รวมของเครื่องกีฬา
 
2. การตั้งชื่อ (Branding) การตั้งชื่อในการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์จะต้องคำนึงความง่ายถึงการค้นหาของผู้ซื้อเป็นหลัก ดังนั้นการตั้งชื่อจะต้องบ่งบอกคุณลักษณะของสินค้า (Functional Brand name)  และต้องใช้คำศัพท์ที่เป็นสากล
 
3. ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Interactivity) คือต้องสามารถสื่อสาร 2 ทาง  ผู้ขายและผู้ซื้อต้องสามารถโต้ตอบกันได้ และต้องรวดเร็ว
 
4. ข้อมูลของสินค้า (Product information) เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะการขายบนเว็บจะต้องทำเว็บให้ทำหน้าที่เหมือนโชว์รูม พนักงานขาย และพนักงานบริการบนเว็บ ไม่มีพนักงานขายคอยแนะนำสินค้า ไม่มีแค็ตตาล็อก สินค้าให้อ่าน และไม่มีคนคอยเชียร์ให้ซื้อสินค้า ดังนั้น “ข้อมูล” จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
 
5. การแนะนำสินค้า (Product recommendation) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อช่วยเร่งเร้าการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้เร็วขึ้น เพราะบนเว็บไม่มีพนักงานทำหน้าที่ปิดการขาย www.clinique.com ซึ่งเสนอขายเครื่องสำอางค์คลินิกจะทำการวิจัยลักษณะผิวพรรณของลูกค้าก่อน โดยให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัว แล้วสรุปประเภทของผิวของลูกค้า และเมื่อลูกค้าต้องการสินค้าประเภทใด ก็จะแนะนำสินค้าให้ตรงกับลักษณะของผิวของลูกค้า
 
6. สร้างจุดเด่นให้กับเว็บไซต์ (Web site differentiation) เนื่องจากเว็บไซต์มีอยู่เกือบ 10 ล้านเว็บ ดังนั้นการสร้างความแตกต่างจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ www.rotten.com เป็นเว็บที่รวบรวมสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว ก็สามารถสร้างความฮือฮาและเรียกร้องความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่ชอบเรื่องราวเหล่านี้
 
7. เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า (Enhancing the product) ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง หาบริการใหม่ๆ นำเสนอแก่ลูกค้า
 
8. พยายามกระตุ้นให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บบ่อยๆ (Encouraging repeated visits) กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะการที่มีผู้มาเยี่ยมชมบ่อย เปรียบเสมือนกับร้านค้าหรือธุรกิจที่มีผู้คนพลุกพล่าน ซึ่งทำให้โอกาสในการขายสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย และนอกจากนี้การที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมทำให้เจ้าของเว็บสามารถกำหนดราคาค่าโฆษณาได้สูง เว็บที่มีคนมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่เป็นศูนย์รวมข้อมูล (Portal web site) อาทิเช่นhttp://www.aol.com/http://www.yahoo.com/ และเว็บอื่นๆ อีกมากมาย
 
9. สร้างเว็บให้เป็นแหล่งชุมชน (Building community) กลยุทธ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สร้างเว็บให้เป็นศูนย์รวมของผู้คนเพื่อให้มีผู้เข้าเยี่ยมชมอยู่ตลอดเวลาและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ  http://www.pantip.com/ เป็นเว็บที่แบ่งชุมชนตามความสนใจในเว็บบอร์ด (เป็นกระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้าไปเสนอความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) เช่น กลุ่ม รัชดา เป็นชุมชนของคนที่สนใจในเรื่องรถยนต์ เครื่องเสียง และโทรศัพท์มือถือใครมีคำถามเรื่องเหล่านี้ก็สามารถเขียนเข้าไปถามได้ และสมาชิกผู้รู้จะเขียนเข้ามาตอบ การที่แต่ละกลุ่มมีสมาชิกสนใจในเรื่องเดียว ในด้านการตลาด จัดว่าเป็นการแบ่งส่วนตลาดที่มีประสิทธิภาพมาก สมาชิกของแต่ละกลุ่มจะเข้าไปอ่านข้อมูลในกระดานข่าวอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นการสร้างความซื่อสัตย์ต่อตรายี่ห้อ (Brand loyalty) ที่ดี
 
10. ตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าให้มากที่สุด (Customizing) กลยุทธ์นี้อยู่ภายใต้แนวคิดว่าสินค้าหรือบริการบนเว็บไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด บริษัทท่องเที่ยวที่ขายบริการท่องเที่ยวผ่านเว็บจะต้องระลึกถึงการทำให้ลูกค้าสนุกกับโปรแกรมตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรสอบถามความต้องการของลูกค้า เช่น สถานที่  อาหาร กิจกรรม ที่พัก และพาหนะเดินทางที่ลูกค้าชอบ แล้วจึงจัดรายการตามนั้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าพอใจสูงสุด และเป็นการหลีกเลี่ยงการตัดราคาด้วย
 
11. การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ต้องพิจารณา อาจทำได้หลายรูปแบบเช่น การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling) ซึ่งบริษัทขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์นิยมนำมาใช้ การแจกคูปองลดราคา โรงภาพยนตร์อีจีวี มักจะให้ผู้เข้ามาที่เว็บพิมพ์คูปองส่วนลดราคาเพื่อใช้ในการซื้อบัตรชมภาพยนตร์ http://www.alladvantage.com/ ส่งเสริมการขายด้วยวิธีแจกเงินแก่ผู้เข้ามาในเว็บไซต์ ถ้าใช้เวลานานก็จะได้เงินมาก และถ้าแนะนำผู้อื่นก็จะได้เงินค่าแนะนำด้วยเมื่อผู้ถูกแนะนำท่องเว็บนี้ กลยุทธ์คล้ายกับกลยุทธ์การขายตรงแบบหลายชั้น (Multi level marketing)
 
12. การตลาดเชิงกิจกรรม (Event marketing) การตลาดเชิงกิจกรรมมักเป็นที่สนใจของผู้คนละมักจะบอกต่อๆกันไป (Word of mouth marketing) ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว www.ourfirstime.com ที่เคย ฮือฮาด้วยการแถลงข่าวจะจัดให้มีการถ่ายทอดสดกิจกรรมทางเพศของชายหญิงคู่หนึ่ง เคยสร้างความเกรียวกราวมาแล้ว ผู้คนจดจำได้นานในด้านการตลาดถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างความรู้จักเว็บ (Brand awareness) แต่จะได้ทัศนคติที่ดีต่อเว็บหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสังคมในแต่ละประเทศ อีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งนิยมใช้กันเพราะทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างรวดเร็วคือมีเกมให้เล่น http://www.madoo.com/, http://www.catcha.co.th/ และอีกหลายๆ เว็บ ดังได้เพราะมีเกมทายที่ผิดของภาพเหมือน (Photo hunt) ให้ผู้คนเข้ามาร่วมกิจกรรม
 
13. ใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือในระบบการจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ (CRM : Customer relationship management) เมื่อบริษัทมีข่าวสารหรือโปรแกรมส่งเสริมการขายเฉพาะตัว สามารถใช้อีเมล์เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นการตลาดทางตรง ซึ่งลูกค้ารายอื่นไม่จำเป็นต้องทราบ
 
14. สิ่งจูงใจอื่นๆ (Other incentives) นอกจากกลยุทธ์ดังกล่าวแล้ว กลยุทธ์ที่นิยมใช้กันเพื่อจูงใจให้ผู้คนมาที่เว็บคือห้องสนทนา (Chat), อิเล็กทรอนิกส์โปสการ์ด, รายงานอากาศ, แผนที่เดินทางและข้อมูลอื่นๆ
 
15. ต่อเชื่อมกับเว็บอื่น (Web linking) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดเว็บใหม่ เป็นการทำเว็บให้เป็นศูนย์รวมคล้ายๆกับห้างสรรพสินค้าที่น่ากลยุทธ์ “One – stop – shopping” มาใช้
 
16. โฆษณาประชาสัมพันธ์ในเว็บที่เป็นที่นิยม เช่น www.yahoo.com เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก
 
17. ส่งเสริมการขายนอกเว็บ (Offline promotion) การที่จะทำให้เว็บเป็นที่รู้จัก ต้องสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร (Integrated marketing communication) คือใช้สื่ออื่นๆ นอกเว็บด้วย เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ


คำศัพท์ทางการตลาด


1. Funding การหาทุนมาดำเนินงาน


2. Gross domestic product ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

3. Growth rate อัตราเจริญเติบโต

4. Human skill ความสามารถที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมประสิทธิภาพ

5. Ideologอุดมการณ์ ระบบความเชื่อที่ครอบงำค่านิยมคนกลุ่มใหญ่ ในสังคม

6. Incentive ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจดึงดูดคน 

7. Innovation การริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เป็น

8. Internal audit การตรวจสอบบัญชีของบริษัทโดยทางบริษัทเป็นผู้ตรวจสอบเอง

9. Investment การลงทุน การนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่ม

10. Job description การอธิบายตำแหน่งอย่างละเอียด